
วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การจัดระเบียบสังคม

การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม (Social organization) เป็นกระบวนการที่มีขอบเขตกว้างขวางมากเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมปรากฏการณ์สังคมหลายอย่าง เริ่มจากการจัดให้มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อกัน เราอาจกล่าวถึงการจัดระเบียบระหว่างสามีภรรยา การจัดระเบียบสังคมของกลุ่มอาชญากร การจัดระเบียบสังคมของหมู่บ้าน จนถึงการจัดระเบียบสังคมของสังคมไทย หรือการจัดระเบียบสังคมของโลกก็ได้ สังคมทุกประเภทจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบสังคมไม่มากก็น้อย ระเบียบสังคมเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของสังคมทั้งหลาย
ความหมายของการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผน ในการอยู่ร่วมกันของสมาชิก โดยสมาชิกได้ยอมรับเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตร่วมกัน
ความสำคัญของการจัดระเบียบสังคม
มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน กล่าวคือ เมื่อเกิดมา มนุษย์ก็ได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์ในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่างมนุษย์ในสังคม และเพื่อควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ จึงจำเป็นต้อง
มีการจัดระเบียบทางสังคม หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทำตามอำเภอใจโดยปราศจากการควบคุมแล้ว สังคมก็จะเกิดความวุ่นวายและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมเกิดสันติสุข
มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน กล่าวคือ เมื่อเกิดมา มนุษย์ก็ได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์ในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่างมนุษย์ในสังคม และเพื่อควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ จึงจำเป็นต้อง
มีการจัดระเบียบทางสังคม หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทำตามอำเภอใจโดยปราศจากการควบคุมแล้ว สังคมก็จะเกิดความวุ่นวายและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมเกิดสันติสุข

1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. ขจัดข้อขัดแย้งและป้องกันความขัดแย้งในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข เป็นปึกแผ่น
องค์ประกอบของการจัดระเบียบ
1. บรรทัดฐาน
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
1. บรรทัดฐาน
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
บรรทัดฐานทางสังคม (Social norms)
บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ข้อบังคับ หรือ มาตรฐาน ในการปฏิบัติของคนในสังคมซึ่งสังคมยอมรับว่าสมควรจะปฏิบัติ เช่น บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบุตร บุตรต้องมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา ข้าราชการต้องบริการประชาชน พระสงฆ์ต้องรักษาศีลและเป็นที่พึ่ง ทางใจ ของประชาชน 1
ประเภทของบรรทัดฐาน
ในทางสังคมวิทยาได้จำแนกประเภทของบรรทัดฐานออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน(Folkways)
เป็นแนวทางปฏิบัติของทุกคนจนเกิดเป็นความเคยชิน จนกลายเป็นชีวิตปกติของมนุษย์เป็นการปฏิบัติด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน เพียงแต่จะได้รับการคำติฉินนินทาว่าประพฤติปฏิบัติในทางไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น วิถีประชามีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการปรับให้เหมาะกับยุคสมัยนั้น เช่น มารยาทในการแต่งกาย มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น
บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ข้อบังคับ หรือ มาตรฐาน ในการปฏิบัติของคนในสังคมซึ่งสังคมยอมรับว่าสมควรจะปฏิบัติ เช่น บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบุตร บุตรต้องมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา ข้าราชการต้องบริการประชาชน พระสงฆ์ต้องรักษาศีลและเป็นที่พึ่ง ทางใจ ของประชาชน 1
ประเภทของบรรทัดฐาน
ในทางสังคมวิทยาได้จำแนกประเภทของบรรทัดฐานออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน(Folkways)
เป็นแนวทางปฏิบัติของทุกคนจนเกิดเป็นความเคยชิน จนกลายเป็นชีวิตปกติของมนุษย์เป็นการปฏิบัติด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน เพียงแต่จะได้รับการคำติฉินนินทาว่าประพฤติปฏิบัติในทางไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น วิถีประชามีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการปรับให้เหมาะกับยุคสมัยนั้น เช่น มารยาทในการแต่งกาย มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น
2. จารีตหรือกฎศีลธรรม(Mores)
เป็นแบบแผนความประพฤติที่สำคัญกว่าวิถีประชา เพราะ มีความเกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา มีข้อห้ามและข้อควรกระทำ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคม เช่น
ในสังคมห้ามสตรีแตะต้องจีวรของพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ
3. กฎหมาย
เป็นข้อบังคับเพื่อควบคุมคนในสังคมให้เป็นระเบียบ มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ กฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมใหญ่ เพราะ การใช้วิถีประชาหรือจารีตไม่อาจให้หลักประกันความเป็นระเบียบของสังคมได้ กฎหมาย มักมีรากฐานมาจากวิถีประชาหรือกฎศีลธรรม เพราะฉะนั้นกฎหมายที่ดี จึงควรสอดคล้องหรือต้องไม่ขัดกับวิถีประชา หรือกฎศีลธรรมดังนั้นจะเห็นได้ว่า บรรทัดฐานทางสังคมเป็นกลไกในการควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้เป็นไปตามทิศทางหรือเป้าหมายและกฎระเบียบที่สังคมวางไว้
เป็นแบบแผนความประพฤติที่สำคัญกว่าวิถีประชา เพราะ มีความเกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา มีข้อห้ามและข้อควรกระทำ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคม เช่น
ในสังคมห้ามสตรีแตะต้องจีวรของพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ
3. กฎหมาย
เป็นข้อบังคับเพื่อควบคุมคนในสังคมให้เป็นระเบียบ มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ กฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมใหญ่ เพราะ การใช้วิถีประชาหรือจารีตไม่อาจให้หลักประกันความเป็นระเบียบของสังคมได้ กฎหมาย มักมีรากฐานมาจากวิถีประชาหรือกฎศีลธรรม เพราะฉะนั้นกฎหมายที่ดี จึงควรสอดคล้องหรือต้องไม่ขัดกับวิถีประชา หรือกฎศีลธรรมดังนั้นจะเห็นได้ว่า บรรทัดฐานทางสังคมเป็นกลไกในการควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้เป็นไปตามทิศทางหรือเป้าหมายและกฎระเบียบที่สังคมวางไว้
การบังคับใช้บรรทัดฐานกระทำได้ 2 วิธี คือ
1. การให้บำเหน็จ (Reward) เช่น การยกย่องชมเชย ให้เกียรติบัตร ให้เหรียญตรา
2. การลงโทษ (Punishment) มีการกำหนดโทษทัณฑ์แก้ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดบรรทัดฐาน ซึ่งมีตั้งแต่ซุบซิบนินทา การปรับ การจองจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดที่ได้กระทำ
สถานภาพ (Status)
สถานภาพ คือ ตำแหน่งของบุคคลที่ได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มคนหรือสังคม จึงมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบาทของตำแหน่งนั้นๆ เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่อะไร และควรจะปฏิบัติอย่างไร ซึ่งบุคคลหนึ่งอาจมีได้หลายสถานภาพตามสถานการณ์ เช่น สมภพ เมื่ออยู่ในครอบครัวจะมีสถานภาพเป็น “พ่อ” แต่ในขณะทำงานอาจมีสถานภาพเป็น “ผู้ประกอบการ”
สถานภาพจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
ธรรมชาติจะเป็นตัวกำหนดโดยที่บุคคลไม่มีทางเลือก เช่น เพศ อายุ สีผิว
2. สถานภาพที่ได้มาภายหลังหรือได้มาด้วยความสามารถหรือสถานภาพสัมฤทธิ์
เป็นตำแหน่งที่ต้องดิ้นรนขวนขวาย ด้วยความรู้ ความสามารถ และสติปัญญาของตนเอง เช่นตำแหน่งหน้าที่การงาน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส
1. การให้บำเหน็จ (Reward) เช่น การยกย่องชมเชย ให้เกียรติบัตร ให้เหรียญตรา
2. การลงโทษ (Punishment) มีการกำหนดโทษทัณฑ์แก้ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดบรรทัดฐาน ซึ่งมีตั้งแต่ซุบซิบนินทา การปรับ การจองจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดที่ได้กระทำ
สถานภาพ (Status)
สถานภาพ คือ ตำแหน่งของบุคคลที่ได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มคนหรือสังคม จึงมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบาทของตำแหน่งนั้นๆ เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่อะไร และควรจะปฏิบัติอย่างไร ซึ่งบุคคลหนึ่งอาจมีได้หลายสถานภาพตามสถานการณ์ เช่น สมภพ เมื่ออยู่ในครอบครัวจะมีสถานภาพเป็น “พ่อ” แต่ในขณะทำงานอาจมีสถานภาพเป็น “ผู้ประกอบการ”
สถานภาพจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
ธรรมชาติจะเป็นตัวกำหนดโดยที่บุคคลไม่มีทางเลือก เช่น เพศ อายุ สีผิว
2. สถานภาพที่ได้มาภายหลังหรือได้มาด้วยความสามารถหรือสถานภาพสัมฤทธิ์
เป็นตำแหน่งที่ต้องดิ้นรนขวนขวาย ด้วยความรู้ ความสามารถ และสติปัญญาของตนเอง เช่นตำแหน่งหน้าที่การงาน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส
บทบาท (Role)
คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ตามสถานภาพที่ได้รับ เช่น พ่อ แม่ มีบทบาทคือ เลี้ยงดูลูก นักเรียนมีบทบาทคือ ต้องเรียนหนังสือ
บทบาททางสังคมเกิดจากการเรียนรู้และการถ่ายทอดระหว่างสมาชิกในสังคมในขณะที่เด็กยังเยาว์วัย จะเรียนรู้บทบาทของสถานภาพต่าง ๆ โดยการสังเกตจากบุคคลอื่นที่แวดล้อมตน
ความสำคัญของบทบาททางสังคม
บทบาททางสังคม ก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การรับและการเอื้อประโยชน์ระหว่างกัน เช่น ครอบครัว ประกอบไปด้วยบิดา มารดา และบุตร แต่ละคนต่างก็มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตามบทบาทของสถานภาพ บิดา มารดามีสิทธิลงโทษบุตร มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดู บุตรก็มีสิทธิในการรับมรดกจากบิดา มารดา
มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดา มารดายามแก่ชรา ฯลฯ
ถ้าไม่มีการกำหนดบทบาททางสังคมรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจะขาดระเบียบและไม่มีทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อต้องติดต่อกับบุคคลอื่น
สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่าง การปฏิบัติตามบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะ บทบาทแต่ละบทบาทจะถูกคาดหวังให้ปฏิบัติ
คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ตามสถานภาพที่ได้รับ เช่น พ่อ แม่ มีบทบาทคือ เลี้ยงดูลูก นักเรียนมีบทบาทคือ ต้องเรียนหนังสือ
บทบาททางสังคมเกิดจากการเรียนรู้และการถ่ายทอดระหว่างสมาชิกในสังคมในขณะที่เด็กยังเยาว์วัย จะเรียนรู้บทบาทของสถานภาพต่าง ๆ โดยการสังเกตจากบุคคลอื่นที่แวดล้อมตน
ความสำคัญของบทบาททางสังคม
บทบาททางสังคม ก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การรับและการเอื้อประโยชน์ระหว่างกัน เช่น ครอบครัว ประกอบไปด้วยบิดา มารดา และบุตร แต่ละคนต่างก็มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตามบทบาทของสถานภาพ บิดา มารดามีสิทธิลงโทษบุตร มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดู บุตรก็มีสิทธิในการรับมรดกจากบิดา มารดา
มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดา มารดายามแก่ชรา ฯลฯ
ถ้าไม่มีการกำหนดบทบาททางสังคมรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจะขาดระเบียบและไม่มีทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อต้องติดต่อกับบุคคลอื่น
สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่าง การปฏิบัติตามบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะ บทบาทแต่ละบทบาทจะถูกคาดหวังให้ปฏิบัติ
ประโยชน์ของสถานภาพและบทบาท มีดังนี้คือ
1. ทำให้บุคคลรู้จักฐานะของตนเองในสังคม
2. ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มสมาชิก
3. ทำให้บุคคลมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
4. ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย
1. ทำให้บุคคลรู้จักฐานะของตนเองในสังคม
2. ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มสมาชิก
3. ทำให้บุคคลมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
4. ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย
การควบคุมทางสังคม
หมายถึงการดำเนินการทางสังคมโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดการควบคุมทางสังคมจึงเป็นกลไกส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบสังคมแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม โดยใช้วิธีให้รางวัลหรือยกย่องชมเชย เป็นผลให้สมาชิกเกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐาน
2. การลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืน บรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่
- ผู้ละเมิดวิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา จะถูกตำหนิ ถูกนินทา หรือถูกต่อว่า
- การฝ่าฝืนจารีต จะถูกต่อต้านด้วยการไม่คบค้าสมาคม ถูกขับไล่ออกจากชุมชน
ถูกประณาม หรือถูกรุมประชาทัณฑ์
- การทำผิดกฎหมาย จะได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง เช่น ปรับ จำคุก
หมายถึงการดำเนินการทางสังคมโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดการควบคุมทางสังคมจึงเป็นกลไกส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบสังคมแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม โดยใช้วิธีให้รางวัลหรือยกย่องชมเชย เป็นผลให้สมาชิกเกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐาน
2. การลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืน บรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่
- ผู้ละเมิดวิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา จะถูกตำหนิ ถูกนินทา หรือถูกต่อว่า
- การฝ่าฝืนจารีต จะถูกต่อต้านด้วยการไม่คบค้าสมาคม ถูกขับไล่ออกจากชุมชน
ถูกประณาม หรือถูกรุมประชาทัณฑ์
- การทำผิดกฎหมาย จะได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง เช่น ปรับ จำคุก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)